การจัดองค์ความรู้ KM
ความหมายของ "การจัดการความรู้" (Knowledge Management : KM)
การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งย่อมาจากคำว่า "Knowledge Management" คือ การรวบรวมองค์ความรุ้ที่มีอยู่ใน องค์กรซึ่งจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด (อ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.ร)
KM ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ต่างๆ ได้ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization )
ความหมายและรูปแบบของความรู้
ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา
รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฏระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม
2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม
ขอบเขต KM (KM Focus Area) ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์
1) จำแนกความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดัน ความสำเร็จในงานประจำหรือยุทธศาสตร์ประมวลจริยธรรมของข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้าง ขององค์การบริหารส่วนตาบลปากกราน
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552
ระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยความพิการให้คนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2553
หนังสือ มท 0891.3/ว 118 ลงวันที่ 15 มกราคม 2556 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติในการจ่ายเงิน
หนังสือ มท 0891.3/03962 ลว 11 มีนาคม 2559 เรื่อง การตรวจสอบการดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันด้าน รายได้แก่ผู้สูงอายุ
ข้อบกพร่องเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพ
คัมภีร์เบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส
2) ส่งเสริมการนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาบุคคลากร และให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน
3) เสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการนำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรและพัฒนางานของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การบริหารส่วนตำบล
KM สาระน่ารู้
ภาษิต คําคม KM
การจัดการองคความรู (Knowledge Management: KM)
การจัดการความรูคืออะไร ?
ประโยชน์ของการจัดการองค์ความรู้
ทําไมตอง "จัดการความรู" ในองค์กร
มองโลกในแง่ดี กายสดใส ใจเป็นสุข
จิตวิทยาของความสัมพันธระหวางเพื่อนรวมงาน : พัฒนาการติดตอสื่อสารกับผูอื่น
หลักธรรมในการครองตน ครองคน และครองงาน
กฎหมายท้องถิ่น
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการ
→ ข้อมูลด้าน competency ของทุกตำแหน่ง
⇒ นักบริหารงานท้องถิ่น (ต้น-สูง)
⇒ นักบริหารงานทั่วไป (ต้น-สูง)
⇒ นักบริหารงานการคลัง (ต้น-สูง)
⇒ นักจัดการงานทั่วไป (ปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ)
⇒ นักทรัพยากรบุคคล (ปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ)
⇒ นักวิเคราะห์นโยายบและแผน (ปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ)
⇒ นักวิชาการเงินและบัญชี (ปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ)
⇒ นักพัฒนาชุมชน (ปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ)
⇒ นักวิชาการศึกษา (ปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ)
⇒ เจ้าพนักงานธุรการ (ปฏิบัติงาน-อาวุโส)
⇒ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (ปฏิบัติงาน-อาวุโส)
⇒ เจ้าพนักงานพัสดุ (ปฏิบัติงาน-อาวุโส)
⇒ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ (ปฏิบัติการ-อาวุโส)